เกี่ยวกับ อบต.



ประวัติของตำบลท่าม่วง

      องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง  เป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหนึ่งของอำเภอท่าม่วง  จังหวัดกาญจนบุรี  ซึ่งอำเภอท่าม่วงได้รับจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2441  เดิมชื่อว่า “อำเภอใต้” เพราะอยู่ทางใต้ของจังหวัดกาญจนบุรี โดยตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง  ต่อมาราว  พ.ศ. 2443 จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ที่ตำบลวังขนาย  เหนือวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง  ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอวังขนาย  คำว่า “วังขนาย”  มีประวัติเล่าสืบกันมาว่า  น้ำในแม่น้ำแม่กลองซึ่งห่างจาก  ที่ว่าการอำเภอวังขนายไปประมาณ  3  เส้น  ( ประมาณ 120  เมตร ) มีวังน้ำวนเป็นก้นกระทะ พอถึงฤดูแล้ง  มีคนมาหาปลาใช้แหทอดหาปลาในวังน้ำวน  ได้ขนายช้าง  1 คู่ (งาเล็กๆ ของช้างพัง)  ตั้งแต่นั้นมาจึงเรียกวังน้ำวนนี้ว่า    “วังขนาย”   ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตตำบล  สถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอวังขนายได้ตั้งอยู่ในเขตของตำบลท่าม่วง  จึงมีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น  “อำเภอท่าม่วง”  ราว พ.ศ. 2489 ได้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภออยู่ริมถนนแสงชูโตและได้ย้ายที่ว่าการอำเภออีกครั้ง   ในช่วงนี้ประชาชนเริ่มหนาแน่นขึ้น เนื่องจากมีพ่อค้าชาวจีนที่มาจากโพ้นทะเล  มาตั้งถิ่นฐานและทำกาค้าขายในตลาดท่าม่วง 

      ตลาดท่าม่วง เดิมมีบ้านเรือนไม่มากนัก ส่วนมากตั้งบ้านเรือนเป็นโรงดินมุงจากติดต่อกันไปตามลำน้ำการค้าขายอาศัยพาหนะเรืออย่างเดียว  หัวใจสำคัญในการค้าขึ้นอยู่กับเรือ  ซึ่งรับ-ส่งสินค้าผ่านทางปากอ่าวแม่น้ำแม่กลอง(จังหวัดสมุทรสงคราม)  และนำส่งท่าม่วง-กาญจนบุรีในที่สุด    ประชาชนในเขต  2  อำเภอ  คือ  อำเภอพนมทวนและอำเภอท่าม่วงฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง เช่น หมู่บ้านดอนเขารัก,รางหวายดอนตาเพชร,บ่อระแหง,พังตรุ,บ้านทวน , ทุ่งสมอ,หนองขาว,ดอนเจดีย์,  ทุ่งทอง  ต่างก็ต้องนำผลิตผลเข้าสู่ตลาดท่าม่วง  อาชีพชาวไร่สมัยนั้นนิยมปลูกยาสูบ  ประชาชนทั้งประเทศรู้จักในชื่อ “ยาปากแพรก” เพราะเมืองกาญจนบุรีในสมัยนั้นตั้งอยู่ที่บ้านปากแพรก    อาชีพการปลูกยาสูบ  ชาวจีนเป็นผู้ประกอบการเป็นส่วนใหญ่วิธีลำเลียงยาสูบสู่ตลาดท่าม่วง  มีวิธีเดียวคือ “ใช้ลูกหาบ” ซึ่งเป็นความพยายามอย่างยิ่งของคนในสมัยนั้น   ชาวสวนก็ปลูกมะม่วงเป็นส่วนมาก   ส่วนคนไทยก็มักทำนาเป็นส่วนใหญ่  แล้วนำมาขายลงเรือที่ตลาดท่าม่วง  วิธีการเดินทางนอกจากเกวียนแล้ว ก็ใช้วิธีหาบกระบุงคนละ 2 กระบุง  ซึ่งประชาชนชาวพนมทวน, ทุ่งสมอ, หนองขาว ฯลฯ จะมาตลาดท่าม่วงจะพูดว่า “ไปท่า” (ในที่นี้ก็คือ “ท่าน้ำนั้นเอง”)

      ตลาดท่าม่วง แต่เดิมมีท่าน้ำอยู่ 3 แห่ง  คือ  ท่าบน(บ้านคุณส่อง) ท่านี้มีต้นมะม่วงใหญ่    ท่ากลาง(บ้านนายห้างหย่วน) มีต้นจามจุรี  ส่วนท่าล่าง (บ้านนายดำ  ต้นสกุล วัยวัฒนะ)  ท่าล่างนี้มีการปลูกโรงค้าขายแห่งแรก  เนื่องจากสภาพตลาดท่าม่วงขณะนั้นเป็นตลาดท่าน้ำที่มีการค้าขายมะม่วงที่บรรทุกมาจากเกวียนและหาบลงเรือ จึงมีเรือแพของพ่อค้ามารอขนถ่ายสินค้าซื้อขายกันอยู่  ชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า  “บ้านท่ามะม่วง”     ต่อมาคำกร่อนไปเป็น “ท่าม่วง” จนถึงบัดนี้

 

 

 



วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง

      “เศรษฐกิจดี  มีสาธารณูปโภคพร้อม สิ่งแวดล้อมน่าดู  

ความรู้เทียบทัน  ชุมชนเข้มแข็ง”

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 1 วัดศรีโลหะฯ 502 418 510 928 คน
หมู่ที่ 4 หนามแดง 588 625 704 1,329 คน
หมู่ที่ 5 คันคูน้ำ 303 315 322 637 คน
ข้อมูลรวม : คน

สภาพทั่วไป ลักษณะภูมิประเทศ

ที่ตั้ง

      ปัจจุบันที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง  ตั้งอยู่เลขที่  1124/6  หมู่ที่ 4 ถนนแสงชูโต  ตำบลท่าม่วง  อำเภอท่าม่วง  จังหวัดกาญจนบุรี  71110

      องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง  มีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

      ทิศเหนือ         ติดต่อกับ        หมู่ที่  6  ตำบลทุ่งทอง            จังหวัดกาญจนบุรี

      ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ       หมู่ที่  1  ตำบลวังขนาย           จังหวัดกาญจนบุรี

                                              หมู่ที่  2  ตำบลวังขนาย           จังหวัดกาญจนบุรี

      ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ        หมู่ที่  4  ตำบลท่าล้อ              จังหวัดกาญจนบุรี

      ทิศใต้            ติดต่อกับ         เขื่อนแม่น้ำแม่กลอง                จังหวัดกาญจนบุรี

สภาพภูมิประเทศ

      สภาพพื้นที่ :  องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง  ตั้งอยู่ในพื้นที่  อำเภอท่าม่วง  จังหวัดกาญจนบุรี  มีพื้นที่รวมประมาณ  10.47  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ  6,543.75  ไร่ ลักษณะทั่วไปส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม  มีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านด้านทิศใต้  มีลำห้วยธรรมชาติ ไหลผ่าน  มีสภาพชลประทานที่ดี โดยมีเขื่อนแม่น้ำแม่กลอง  และคลองชลประทาน บริเวณแนวเขตพื้นที่

ลักษณะภูมิอากาศ

      องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง  ลักษณะภูมิอากาศได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  มีลักษณะอากาศแบบฝนเมืองร้อน  มีความชื้นในอากาศสูง  ทำให้อากาศโดยทั่วไปเย็นและชุ่มชื้น  ขณะเดียวกันอากาศในฤดูร้อนก็ร้อนมาก   อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ  25 – 39 องศาเซลเซียส แบ่งออกเป็น 3  ฤดูกาล ดังนี้

  • ฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม  โดยจะมีฝนตกมากในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม  ทั้งนี้ในช่วงเดือนดังกล่าวจะได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น และพายุโซนร้อนที่พัดผ่านประเทศไทย
  • ฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 
  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม

การเมืองการปกครอง

      องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ตั้งอยู่ในเขตการปกครอง  อำเภอท่าม่วง  จังหวัดกาญจนบุรี  ทางทิศใต้ของจังหวัดกาญจนบุรี  ห่างจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  323 (ถนนแสงชูโต) และทางหลวงแผนดินหมายเลข 4 ( ถนนเพชรเกษม )  ประมาณ  182  กิโลเมตร  เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง  มีพื้นที่รวมประมาณ  10.47  ตารางกิโลเมตร โดยได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่  16  ธันวาคม  2539

พื้นที่รับผิดชอบ

      องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วงมีเขตพื้นที่รับผิดชอบ 10.47 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 6,543.75  ไร่  ครอบคลุมพื้นที่จำนวน 3 หมู่บ้าน ของตำบลท่าม่วง  อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี 

      องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง  แบ่งการปกครองเป็น  3  หมู่บ้าน  ซึ่งครอบคลุมเต็ม หมู่บ้านจำนวน  2  หมู่บ้าน  คือ  หมู่ที่  4 และ 5  สำหรับหมู่ที่ 1 มีพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลท่าม่วง   อำเภอท่าม่วง  จังหวัดกาญจนบุรี  แต่ละหมู่บ้านมีประชากร  ดังนี้

ลำดับ

หมู่บ้าน/ตำบล

จำนวนประชากร

จำนวนครัวเรือน

ชาย

หญิง

รวม

1

 หมู่ที่  1 วัดศรีโลหะฯ ตำบลท่าม่วง

418

510

928

502

2

 หมู่ที่  4 หนามแดง   ตำบลท่าม่วง

625

704

1,329

588

3

 หมู่ที่  5  คันคูน้ำ     ตำบลท่าม่วง

315

322

637

303

รวม 

1,358

1,536

2,894

1,393

ที่มา : ฝ่ายทะเบียนและบัตร  ที่ทำการปกครองอำเภอท่าม่วง  (ข้อมูล  ณ  เดือน มีนาคม  2557)

หมู่ที่  1  บ้านวัดศรีโลหะฯ       ผู้ปกครอง       นายวิชัย    ลิ้มเจริญ                 กำนัน

หมู่ที่  4  บ้านหนามแดง          ผู้ปกครอง       นายวิชาญ  เล้าสวย                 ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่  5  บ้านคันคูน้ำ              ผู้ปกครอง       นางวริศรา  พงษ์หาญพาณิชย์    ผู้ใหญ่บ้าน

สภาพทางเศรษฐกิจ และ สังคม

ด้านเศรษฐกิจ

ตารางแสดงรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง

แสดงตามการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ( จปฐ.) ปี 2556

จำนวนครัวเรือน

จำนวนคน

 

รายได้ครัวเรือน

เฉลี่ย(บาท/ปี)

รายได้บุคคล

เฉลี่ย(บาท/ปี)

อาชีพหลัก

อาชีพรอง

รายได้อื่น

ปลูก เลี้ยง หาเอง

442

1,425

193,291

7,263

5,543

1,591

207,687

64,419

 

ตารางแสดงการประกอบอาชีพที่สำคัญของประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

ที่

อาชีพ

จำนวน(คน)

ร้อยละของประชากร

1

 รับราชการ  รัฐวิสาหกิจ

271

26.99

2

 รับจ้างทั่วไป

369

36.75

3

 การพาณิชยกรรม

129

12.84

4

 เกษตรกรรม

56

5.57

5

 เลี้ยงสัตว์

52

5.17

6

 อื่นๆ

127

13

รวม 

1,004

100

ที่มา: ฐานข้อมูล จปฐ ปี 2556 ของพัฒนาชุมชนอำเภอท่าม่วง



สภาพทางการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

การศึกษา

      องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง  มีการให้บริการทางการศึกษา  คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วงและมีสถาบันการศึกษาจำนวน 2  แห่ง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่  คือ  โรงเรียนอนุบาลท่าม่วง  และโรงเรียนท่าม่วงราษฎรษ์บำรุง

ศาสนา

      ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ซึ่งไม่มีศาสนสถานใดๆในเขตพื้นที่ แต่มีวัดอยู่ใกล้กับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วงซึ่งราษฎรจะไปทำพิธีกรรมทางศาสนาในช่วงเทศกาลต่างๆ หมู่ที่  1  จะไปทำพิธีทางศาสนาที่ วัดศรีโลหะฯ  ส่วนหมู่ที่  4 และ  5  จะไปทำพิธีกรรมที่วัดสันติคีรีศรีบรมธาตุ  หรือวัดห้วยนาคราช

ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม

      ประเพณีที่ถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจะเป็นความเชื่อถือเกี่ยวกับทางศาสนา  เป็นพิธีการทางศาสนา       การเฉลิมฉลองและงานบุญต่าง ๆ เช่น  งานบุญประเพณีวันเข้าพรรษา  วันออกพรรษา  งานวันขึ้นปีใหม่       วันสงกรานต์  วันวิสาขบูชา  วันมาฆบูชา  วันอาสาฬหบูชา  วันลอยกระทง  เป็นต้น  ประเพณีวัฒนธรรม  และความเชื่อของประชาชนยังปฏิบัติอยู่อย่างต่อเนื่องตามบรรพบุรุษที่ได้กระทำมาและช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

 

 

 

การบริการพื้นที่และทัรพยากรธรรมชาติ

ด้านการคมนาคม/ขนส่ง

        การคมนาคมและขนส่งขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง  สามารถติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงได้อย่างสะดวกมีถนนสายหลักที่เชื่อมต่อระหว่างอำเภอและพื้นที่ต่าง ๆ  โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 (ถนนแสงชูโต) สายแยกทางหลวงหมายเลข 4 (สามแยกกระจับ) - เจดีย์สามองค์ เป็นถนนขนาด 2-4 ช่องจราจร   มีจุดเริ่มต้นจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 บริเวณทางแยกต่างระดับสามแยกกระจับ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านอำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง อำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอไทรโยค อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี สิ้นสุดที่ด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ก่อสร้างขึ้น เพื่อรองรับการคมนาคมทางบก นอกเหนือจากทางรถไฟสายธนบุรี-น้ำตกซึ่งเป็นทางรถไฟเก่าแก่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และทางเรือผ่านแม่น้ำแคว  

ด้านไฟฟ้าสาธารณะ

      การบริการไฟฟ้าสาธารณะครอบคลุมทั้งสามหมู่บ้านซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไฟฟ้าหลอดนีออน  สามารถแยกตามหมู่บ้านได้  ดังนี้

      หมู่ที่  1  มีการให้บริการไฟฟ้า  ทั้งหมด     78  ดวง

      หมู่ที่  4  มีการให้บริการไฟฟ้า  ทั้งหมด     98  ดวง

      หมู่ที่  5  มีการให้บริการไฟฟ้า  ทั้งหมด      47 ดวง

การใช้ประโยชน์ที่ดิน

      ที่ดินเป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดและมีคุณค่าอย่างมาก  ทั้งในเรื่องของปัจจัยการผลิต และในเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อการดำรงชีพของมนุษย์  ดังนั้น หากที่ดินได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ให้ถูกต้องและเหมาะสม  ย่อมจะอำนวยผลต่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะการใช้ที่ดินในเขตกึ่งเมืองย่อมแตกต่างไปจากชนบทเพราะพื้นที่เริ่มเป็นที่อยู่อาศัยมากขึ้น ถ้าหากวางผังการใช้พื้นที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นระเบียบในอนาคตอาจเป็นปัญหาในหลายเรื่อง เช่น ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินดังนี้

ที่

ประเภทที่ดิน

จำนวนไร่

ร้อยละของพื้นที่ทั้งหมด

1

 ที่อยู่อาศัย

2,135.23

32.63

2

 ที่การเกษตร

1,074.17

16.42

3

 ที่พาณิชยกรรม ธุรกิจการค้า

1,341.08

20.49

4

 สถานที่ราชการ

1,039.71

15.89

5

 ที่สาธารณะ

494.75

7.56

6

 อุตสาหกรรม

324.02

4.95

7

 อื่นๆ (แหล่งน้ำ  ถนนฯลฯ)

134.79

2.06

 

การจราจร

      พื้นที่ตำบลท่าม่วงเป็นพื้นที่กึ่งเมือง เพราะมีพื้นที่ติดกับเทศบาลตำบลท่าม่วงซึ่งมีตลาดการค้า(ตลาดสด) อยู่กลางเมือง ทำให้ในบางครั้งมีรถหนาแน่น  และบางส่วนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม  องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง  เป็นทางผ่านที่จะไปยังแหล่งท่องเที่ยวในเขตจังหวัดกาญจนบุรี  โดยมีถนนสายสำคัญคือ ถนนแสงชูโต หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 รถจะหนาแน่นช่วงเทศกาลสำคัญ หรือที่มีวันหยุดราชการติดต่อกันหลายวัน

กีฬา  นันทนาการ/พักผ่อน

      1) สนามกีฬา              จำนวน           1        แห่ง  โรงเรียนอนุบาลท่าม่วง

      2) ที่ออกกำลังกาย       จำนวน           1        แห่ง  บริเวณหน้าหมู่บ้านสินกาญจน์

      3) ที่ออกกำลังกาย       จำนวน           1         แห่ง  บริเวณสวนหย่อนคันคูน้ำ

การสาธารณสุข

      ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง ไม่มีโรงพยาบาลอยู่ในเขตพื้นที่  แต่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าม่วง  ซึ่งครอบคลุมการให้บริการเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง

ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

      สถานีตำรวจภูธรท่าม่วง  ตั้งอยู่หมู่ที่  2  ซึ่งมีการให้บริการถึงเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง          มีบุคลากร  ดังนี้

      1. เจ้าหน้าที่ตำรวจ            จำนวน  122  นาย

      2. อาสาสมัคร ตชช.          จำนวน   75  นาย

      ที่มา : ข้อมูลจาก สถานีตำรวจภูธรท่าม่วง  ณ  เดือน  มีนาคม  2556

การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

      องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง มีอาสาสมัครป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จำนวน   18   คน เป็นชาย  12  คน  เป็นหญิง  6  คน